วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหา

1. ตัวเด็ก  

          ผู้ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดต้องให้ความรู้ความเข้าใจกับเด็กในเรื่องความรักความสัมพันธ์ตลอดจนปัญหาที่เกิดจากเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เพื่อให้เด็กได้ตระหนักในปัญหาต่าง ๆ มากขึ้น   ให้เด็กได้มีทักษะชีวิตที่สำคัญจำเป็นต่าง ๆ เพื่อให้เด็กสามารถยับยั้งปัญหาที่กำลังจะเกิดได้อย่างปลอดภัย และเมื่อเกิดปัญหาแล้วให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาจะทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพ/ความสามารถของตนในการดำเนินชีวิตต่อไป

2. ครอบครัว

          ให้ครอบครัวได้เข้าใจและตระหนักว่า ความรักความอบอุ่นที่เพียงพอและพอเพียงจะสามารถนำพาครอบครัวให้เข้าใจในปัญหาได้อย่างแท้จริงและความรัก ความอบอุ่นนี้จะนำพาให้ครอบครัวเรียนรู้ที่จะยอมรับกันอย่างปราศจากเงื่อนไข เพื่อที่จะได้ร่วมกันเผชิญกับปัญหาได้อย่างมั่นคง พร้อมที่จะก้าวเดินไปพร้อมๆกัน ร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาในครอบครัวของเราได้

3. สังคมและสิ่งแวดล้อม  

          ทั้งที่เป็นบุคคล สถาบัน ๆ ตลอดจนชุมชน สังคมในภาพกว้างต้องมีความรู้ความเข้าใจต่อธรรมชาติของวัย ธรรมชาติของปัญหา ความต้องการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจของเด็กวัยนี้ เพื่อความเข้าใจต่อปัญหาสามารถเป็นแรงเสริมที่จะให้เด็กในวัยนี้สามารถผ่านพ้นวัยที่สำคัญนี้ไปได้ด้วยความเข้าใจในความรัก ตามความเป็นจริง รู้จักและเข้าใจคุณค่าของตนจากความรักพื้นฐานความรักที่แท้จริงของพ่อแม่และครอบครัวตลอดจนบุคคลรอบข้างที่รักและปรารถนาดีต่อเด็กและสังคมยังสามารถประคับประคองเยาวชนที่ผ่านพ้นปัญหามาให้มีกำลังใจที่จะยืนหยัดในสังคมต่อไปอย่างเห็นคุณค่าในตนเอง พร้อมจะต้อนรับตนเองให้มีที่ยืนในสังคมต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น